เคยมีแพลนจะไปเที่ยวต่างจังหวัดกับครอบครัวกันบ้างมั้ยเอ่ย ถ้ามีแล้วคุณฝึกให้เจ้าตัวน้อยนั่ง คาร์ซีท แล้วรึยัง? เพราะปัญหาส่วนใหญ่ของเด็กทารกหลายๆคน นั่นก็คือการไม่ชอบนั่งคาร์ซีท ทำให้เวลาออกไปไหนไกลๆนั้นอาจจะไม่ปลอดภัยกับเจ้าตัวเล็กมากนักหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นมา ดังนั้นการฝึกให้ลูกนั่ง Car Seat ตั้งแต่เนิ่นๆเพื่อช่วยให้ลูกคุ้นชินกับเบาะนั่งสำหรับตัวของเค้าเองนั้น เป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง ต้องบอกไว้ก่อนเลยว่าถ้าหากยิ่งเริ่มเร็วก็จะยิ่งชินกับมัน และจะทำให้คุณแม่หลายๆคนไม่ต้องปวดหัวกับการให้ลูกนั่งคาร์ซีทอีกต่อไป วันนี้เราเลยมีเคล็ดลับฝึกลูกให้นั่งคาร์ซีทมาฝากกัน
1. เริ่มเร็วเท่าไรยิ่งดี
การเริ่มต้นนั่งคาร์ซีทเร็วให้เขาสามารถทำกิจวัตรนี้เหมือนเป็นกิจวัตรประจำวัน คล้ายๆ กับการล้างหน้า แปรงฟัน ซึ่งจะต้องทำอยู่ทุกวันเสมอ เพราะเมื่อเขาโตจนรู้ความแล้ว เขาก็จะรู้ว่าในบางครั้งนั้นคาร์ซีทอาจไม่จำเป็นต้องนั่งตลอด เปรียบเทียบได้จากคุณพ่อคุณแม่ซึ่งนั่งอยู่ข้างๆ ยังนั่งเบาะปกติเลย ซึ่งก่อนที่เขาจะรู้ตัวขอแนะนำให้ฝึกนั่งคาร์ซีทตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อปกป้องและสร้างความปลอดภัยในทุก ๆ การเดินทาง
2. ใจแข็งได้ แต่ต้องมองปัจจัยอื่นๆด้วย
คุณพ่อคุณแม่หลายๆคนพยายามฝึกให้ลูกทำนั่นทำนี่และพยายามใจแข็งไม่โอ๋ในเวลาที่ลูกนั้นร้องให้ แต่อาจจะใช้ไม่ได้ผลกับการฝึกลูกให้นั่งคาร์ซีท อย่างไรก็ตามเป้าหมายหลักๆ คือการพยายามให้ลูกน้อยนั้นนั่งคาร์ซีทให้สำเร็จ ดังนั้นถ้าหากลูกร้องให้ให้พยายามมองปัจจัยด้วยว่าลูกร้องเพราะอะไร อาจจะไม่ใช่การไม่อยากนั่งบนเบาะคาร์ซีทก็ได้ หรืออาจมีอะไรกำลังกวนใจเขาอยู่ซึ่งคุณพ่อคุณแม่นั้นจะต้องสังเกตให้ดี เช่น ร้องเพราะนั่งทับตุ้กตาบนเบาะอยู่ ร้องเพราะหิวน้ำ หิวขนม เป็นต้น
3. เตรียมของเล่นขนมขบเคี้ยว
เมื่อเช็คปัจจัยเรียบร้อยแล้ว คราวนี้มาถึงกลยุทธและวิธีการจูงใจให้ลูกน้อยนั้นเบนความสนใจไปทางอื่นกัน นั่นก็คือการเตรียมทั้งของเล่นต่างๆ และขนมขบเคี้ยวที่จะทำให้เขานั้นสามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งตรงหน้าได้ เมื่อจดจ่อได้แล้วการนั่งในเบาะเคาร์ซีทจนถึงจุดหมายนั้น อาจไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป ในส่วนของปริมาณที่จะเตรียมทั้งของเล่นและขนมนั้น ต้องดูจากระยะทางที่ไปด้วยนะ หากว่าระยะทางไกลหรือเป็นการเดินทางข้ามจังหวัด ก็ควรเตรียมเอาไว้มากๆ แต่ของเล่นนั้นสามารถเตรียมไว้เล็กน้อยได้ ส่วนการเดินทางใกล้ๆ อาจจะเตรียมไว้แค่ชิ้นสองชิ้นเพื่อให้การนั่งคาร์ซีทนั้นประสบผลสำเร็จได้ในระยะเวลาอันสั้น
4. จอดพักบ้าง เพื่อให้เด็กได้ยืดเส้นยืดสาย
การจอดพักนั้นนอกจากจะเป็นการพักสายตาเพื่อให้ลูกน้อยได้ยืดเส้นยืดสายบ้าง ยังสามารถสร้างการเชื่อมโยงให้กับการนั่งคาร์ซีทได้ด้วย นั่นก็คือการพยายามสอนเด็กทางอ้อมให้จดจำว่าเมื่อรถเคลื่อนที่นั้น สิ่งแรกที่ต้องทำคือการนั่งบนคาร์ซีทให้พร้อมก่อน รถถึงจะออกไปได้ และเมื่อรถหยุดเด็กก็จะทราบโดยอัติโนมัติว่าจะได้ออกจากรถแล้ว เมื่อทำแบบนี้ซ้ำๆ เด็กก็จะจำได้ว่าควรนั่งคาร์ซีทเมื่อใด
5. เลือกคาร์ซีทที่นั่งสบาย
การเลือกที่นั่งที่สบายและไม่ทำให้เด็กร้องให้นั้นมีความเชื่อมโยงกันนะครับ เพราะบางครั้งเด็กอาจจะมีเหงื่อไคลจากการนั่งคาร์ซีทตัวนั้น แสดงว่าเบาะสำหรับเด็กตัวนั้นไม่เหมาะกับลูกของคุณอย่างแน่นอน และอาจจะส่งเสียงร้องออกมาเพื่อสื่อสารให้เรารู้ว่าคาร์ซีทตัวนี้นั้นนั่งไม่สบาย อันนี้ลองสังเกตให้ดีๆ เพราะการเลือกคาร์ซีทที่เหมาะกับลูกน้อยนั้นมีความสำคัญกับการฝึกให้ลูกนั่งคาร์ซีทด้วยครับ

โดยสรุปแล้ว การฝึกให้เด็กนั่งคาร์ซีทอย่างปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรให้ความสนใจ เพื่อความปลอดภัยของเด็กๆในรถยนต์ วิธีหนึ่งคือการเริ่มฝึกตั้งแต่เด็กยังเล็ก โดยใช้คาร์ซีทที่มีคุณภาพและติดตั้งอย่างถูกต้อง การอธิบายให้เด็กเข้าใจถึงความจำเป็นของคาร์ซีทก็เป็นสิ่งสำคัญ
คำแนะนำเพิ่มเติม
ควรใช้คาร์ซีทที่มีมาตรฐานความปลอดภัยจากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ และควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคาร์ซีทไม่มีรอยบุบหรือแตก สายรัดและเข็มขัดควรมีสภาพดี และคาร์ซีทไม่ควรมีอายุการใช้งานเกิน 6 ปี นอกจากนี้ควรอ่านคำแนะนำการใช้งานและการติดตั้งอย่างละเอียด และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด สำหรับรถเก๋ง ควรติดตั้งคาร์ซีทที่เบาะหลัง เพื่อหลีกเลี่ยงการกระแทกจากถุงลมนิรภัยในกรณีเกิดอุบัติเหตุ การเลือกคาร์ซีทที่เหมาะสมกับน้ำหนักและขนาดของเด็ก รวมถึงการปรับเปลี่ยนคาร์ซีทให้เหมาะสมกับอายุของเด็กจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ท้ายที่สุด การให้เด็กเลือกคาร์ซีทด้วยตัวเองก็อาจช่วยเพิ่มความสนใจและความยินดีในการใช้คาร์ซีท การมีของเล่นหรือกิจกรรมที่เด็กชื่นชอบในรถก็สามารถช่วยให้เด็กนั่งคาร์ซีทได้นานขึ้นโดยไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ความอดทนและความสม่ำเสมอในการฝึกฝนเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมการนั่งคาร์ซีทที่ดีได้ในที่สุด